วันที่ 9 ธันวาคม 2563 กรมการจัดหางาน จัดส่ง แรงงานไทย จำนวน 264 คน เดินทางไปทำงานภาค เกษตร ในรัฐ อิสราเอล ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย-อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน (Thailand-Israel Cooperation on the Placement of Workers : TIC)”
เตรียมทยอยเดินทางภายในสิ้นปีนี้อีกกว่า 800 คน ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลาย ทั้งสิ้น 2,000 คน
นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เผย รัฐบาลอิสราเอลได้แจ้งความต้องการให้แรงงานไทยไปทำงานภาคเกษตร จำนวน 2,000 คน โดยกรมการจัดหางานได้เริ่มจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานภาคเกษตรฯตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มีแรงงานเดินทางไปแล้ว จำนวน 858 คน
วันนี้จะมีแรงงานเดินทางไปอีก 264 คน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยเที่ยวบินเช่าเหมาลำพิเศษ สายการบิน El Al Israel Airlines เที่ยวบินที่ LY 082 ออกเดินทางจากประเทศไทยเวลา 09.20 น. และมีกำหนดถึงปลายทางกรุงเทลอาวีฟเวลา 15.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น และเตรียมทยอยเดินทางไปอีกในวันที่ 17 และ 24 ธันวาคม 2563 ประมาณ 800 คน
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น ให้ความสำคัญกับการส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากถือว่าแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เป็นผู้นำรายได้เข้าสู่ประเทศ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมทั้งยังสามารถนำทักษะประสบการณ์การทำงานที่ได้กลับมาพัฒนาประเทศ
โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ทั่วโลกพบความยากลำบากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ยิ่งย้ำให้เห็นว่าแรงงานไทยมีทักษะเป็นที่ต้องการ รวมทั้งประเทศไทยมีนโยบายการบริหารจัดการโรคโควิด-19 เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ
สำหรับโครงการ “ความร่วมมือไทย – อิสราเอลเพื่อการจัดหางาน” (Thailand-Israel Cooperation on the Placement of Workers : TIC) มีระยะเวลาการจ้างงาน 2 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี 3 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการต่ออายุใบอนุญาตการจ้างแรงงานต่างชาติของนายจ้างและวีซ่าการทำงาน ตามข้อกำหนดของกฎหมายรัฐอิสราเอล
โดยคนหางานจะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำก่อนหักภาษีเดือนละ 5,300 เชคเกลอิสราเอล หรือประมาณ 48,073 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน
ดังนั้นในการจ่ายเงินส่วนต่างนั้น จะมีการดำเนินการตามนี้
ข้าวเปลือกหอมมะลิ ประกันรายได้ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 2,767 บาท จึงได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 38,739 บาท
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ประกันรายได้ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 2,273 บาทได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 36,369 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า ประกันรายได้ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 810 บาท ได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 24,302 บาท
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ประกันรายได้ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 920 บาท ได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 23,006 บาท
ข้าวเหนียวประกันรายได้ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 786 บาท จะได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 12,583 บาท
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ กล่าวว่า ” ทั้งนี้ชาวนาจะได้รับ เงินส่วนต่าง ของ ราคา ข้าว จำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับปริมาณการแจ้งปลูกไว้ตอนขึ้นทะเบียนและการจ่ายก็ไม่เกินจำนวนตันที่รัฐระบุไว้ สำหรับงวดนี้มีเกษตรกรได้รับชดเชยตามข้อมูลที่ลงทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 300,227 ครัวเรือน สำหรับประกันรายได้ชาวนา หรือประกันรายได้ผู้ปลูกข้าว ปี 2 นี้นั้น เริ่มจ่ายส่วนต่างมาร่วมเดือนแล้ว โดยงวดที่1 จ่ายเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 มาแล้วจากนั้นทยอยจ่ายทุกสัปดาห์และเริ่มจ่ายหลังจากเก็บเกี่ยวตามเวลาเก็บเกี่ยวที่ไว้ “
ซึ่งไร้สารเคมีเจือปน และผ่านมาตรฐานสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM) ซึ่งใช้ตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ทั่วโลก
โดยเป็นการใช้เทคโนโลยี “แกล้งข้าว” ซึ่งเป็นศาสตร์พระราชาที่ใช้หลักการ “เปียกสลับแห้ง” การลอกหญ้าบางส่วนออกจากร่องน้ำในแปลงนา เพื่อให้สะดวกต่อการระบายของน้ำ โดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าหญ้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป